จิตวิทยาของสี ในภาพยนตร์

COLOR PSYCHOLOGY in-Film

Play Video

สี มีบทบาทอย่างมากในภาพยนตร์

สีเป็นสวนหนึ่งของการเล่าเรื่อง สีสามารถส่งผลต่อเราทางอารณ์ และจิตใจ รวมทั้งมีผลกับร่างกายด้วย โดยที่เราอาจมารู้สึกตัว สีในภาพยนตร์ที่เราดูสามารถสร้างอารมณ์ร่วม ความกลมกลืน หรือ ความแตกแยกภายในฉาก หรือสร้างความสนใจที่ธีมหลักได้เป็นอย่างดี

องค์ประกอบของสีในภาพยนตร์มีหลักๆ 3 ประการ

1.HUE ความอิ่มตัวของสี

2.SATURATION ความเข้มของสี

3.BRIGHTNESS ความมืด สว่างของสี

       องค์ประกอบทั้ง 3 นี้จะเป็นตัวที่ใช้ในการปรับแต่งให้เกิด สีสัน  ความสด ความสีดจาง ความมืดสว่างของสี ที่เราจะบรรเลงลงในภาพของภาพยนตร์ที่เราถ่ายทำมา ซึ่งเราเรียกการทำงานในส่วนนั้นว่าการ Color Grading 

สีเมื่อเรานำไปใช้ในการทำภาพยนตร์ สามารถบ่งบอกถึงอารมณ์ในภาพยนตร์ต่างๆ ได้ในหลายมิติขึ้นอยู่กับที่เราจะเอาไปใช้งาน สีเดียวกัน แต่ความเข้ม ความสว่างไม่เท่ากันอาจส่งผลต่อความรู้สึกที่ต่างกันออกไป บ้างครั้ง สีเดียวกันอาจให้ความหมายความรู้สึกตรงกันข้ามก็ได้เช่นกัน 

สีแดง :  แดง ความรัก ความหลงใหล อันตราย ความโกรธ ความตื่นเต้น สงครามการล้างแค้น ความรุนแรง พลัง และอำนาจ

สีเขียว :  ธรรมชาติ วัยเด็ก แต่ขณะเดียวกันสื่อถึงความ ไม่ซื่อสัตย์ เป็นลางร้าย หรือลางสังหรณ์ ความมืดมัวหรือความชั่วร้าย และอันตราย สีเขียวยังเป็นสัญลักษณ์ของความมีสุขภาพดี การรักษา ความอ่อนเยาว์ และ ความสงบสุข

ชมพู  สีชมพูเป็นสีของ ความไร้เดียงสา ความอ่อนหวาน ความเป็นผู้หญิง ความสนุกสนาน ความสวยงาม และความเอาใจใส่

สีส้ม :  ความอบอุ่น การชอบเข้าสังคม เป็นมิตร ความสุข ความแปลก มีชีวิตชีวา วัยหนุ่มสาว

สีฟ้า : ความหนาวเย็น ความโดดเดียว ภาวะเกี่ยวกับสมอง ภาวะจิตใจหดหู่ เศร้าหมอง ความไม่ดิ้นรน หรือไม่ต่อสู้ ความเงียบสงบ หรือความใจเย็น

สีเหลือง : ความวิกลจริต หรือความคลั่ง ความเจ็บป่วย ความไม่มั่นคงปลอดภัย ความงดงามและสงบสุข ความซื่อ หรือไม่มีเลห์เหลี่ยม

สีม่วง : แฟนตาซี ความบางเบา หรือความไม่มีตัวตน ความรู้สึกทางกามารมณ์ ความหลอกลวง หรือภาพลวงตา ความลึกลับ หรือเวทย์มนต์ ลางร้าย หรือลางสังหรณ์

Color Scheme

      แม้ว่าเราจะรู้ถึงความหมายในแต่ละสีแล้วก็ตาม แต่เราต้องรู้วิธีที่จะนำมาใช้ให้เกิดสิทธิภาพในการสื่อสารด้วย เราจึงสร้างรูปแบบของการนำวงล้อสีมาเป็นการจำแนกของการนำสีไปใช้การทำภาพยนตร์เพื่อให้เกิดโทนต่างๆขึ้น เรียกว่า Color Scheme คือการจัดโครงสีจากวงสีเพื่อมาใช้ประกอบกันใน 1 ภาพนั่นเอง ซื่งที่เราใช้กันบ่อยๆนิยมกันก็มีอยู่ 4 แบบด้วยกันคือ  Monochromatic, Complementary, Analogous, Triadic

1. Monochromatic  โมโนโครม เป็นโทนสีเดียว แต่ใช้ น้ำหนักของความหนักเบาของสีทำให้เกิดความรู้สึกความเป็นเอกภาพ เป็นหนึ่งเดียวกัน Wes Anderson มักจะใช้โทนสีเดียวเพื่อวางภาพยนตร์ของเขาในโลกเฉพาะของเขาเอง ตัวอย่างเช่น Moonrise Kingdom เต็มไปด้วยสีเหลือง ทำให้ภาพยนตร์มีอารมณ์ที่แปลกใหม่และไร้เดียงสา ในขณะที่ The Grand Budapest Hotel เต็มไปด้วยสีชมพู ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ให้ความรู้สึกนุ่มนวลและละเอียดอ่อน

2. Analogous  อนาโลโกส   เป็นโทนสีใกล้เคียงกัน เป็นเหมือนโมโนโครม แต่ขยายเอาสีใกล้เคียงมาใช้ด้วยเล็กน้อย โทนสีนี้จะทำให้ดูสบายตา ให้ความรู้สึกกลมกลืน

3. Complementary ก็คือสีตรงข้ามกันนั้นเอง ข้อดีของการใช้คู่สีนี้จะทำให้คนดูรู้สึกรุนแรง ดุดัน จัดจ้าน โดดเด่น เนื่องจากสีคู่ตรงข้ามนั้นตัดกัน จึงสร้างความรู้สึกดราม่าและความขัดแย้ง การใช้โทนสีนี้อาจเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการสร้างความวุ่นวายภายในของตัวละครให้เห็นภาพมากขึ้น หรือทำให้ชีวิตมีชีวิตชีวาขึ้นในช่วงเวลาที่น่าทึ่ง ตัวอย่างเช่น Amelie มีชื่อเสียงในเรื่องโทนสีแดงและเขียวที่ไม่ธรรมดาภาพยนตร์ยอดนิยมหลายเรื่องใช้โทนสีส้มและสีน้ำเงิน ดูตัวอย่างภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่หรือภาพยนตร์แอ็คชั่น ต่างๆ

4.Triadic โครงร่างสีสามสีใช้สีสามสีที่กระจายอย่างสม่ำเสมอในวงล้อสี ตัวอย่างที่พบบ่อยที่สุดคือ แม่สี สีแดง สีน้ำเงิน และสีเหลือง มันค่อนข้างแปลก แต่มักจะเกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ซูเปอร์แมนและภาพยนตร์ฝรั่งเศส Une Femme est une Femme
Discordant

การใช้สีในภาพยนตร์มันเป็นเรื่องของศิลปะในการเล่าของแต่ละคน ไม่มีผิด ไม่มีถูก แต่ขอให้เล่าเรื่องและนำพาอารมณ์ความรู้สึกของตัวหนังไปในทิศทางที่ต้องการได้ก็ถือว่าสำเร็จ 

ถ้าคุณสู้ เราพร้อมแบบสุดตัว!!

Play Video about โฆษณา คอมพิวเตอร์3

คิดถ่ายโฆษณา คิดถึงเรา รับถ่ายโฆษณา / vdo presentation / vdo รีวิวสินค้ า/ music vdo / vdo marketing/ผลิตสื่อโฆษณา บริการครบวงจร

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *